วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

คอสเพลย์


คอสเพลย์ (「コスプレ」, kosupure, – โคะซุปุเระ?) แต่เดิมนั้น การแต่งคอสเพลย์ยังไม่มีคำระบุเรียกลักษณะการแต่งกายเลียนแบบตัวละครจากในเกม, การ์ตูน อย่างชัดเจน คำๆนี้ถูกใช้และเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้การเขียนคอลัมน์ในนิตยสาร My Anime เมื่อปี พ.ศ. 2525โดย โนบุยุกิ ทากาฮาชิ ซึ่งมาจากการนำคำ 2 คำมาผสมกัน คือคำว่า Costume และ Play ซึ่งนิยามของคอสเพลย์ในปัจจุบันไม่ได้หยุดอยู่แค่การแต่งกายเลียนแบบตัวละครที่มาจากประเทศญี่ปุ่น เท่านั้น แต่กินความหมายรวมไปถึงการ์ตูน เกม และเพลงจากชาติอื่นๆ รวมถึงวงการเพลงที่มีการเลียนแบบการแต่งกายของวง J-Rock และ J-Pop ที่มีรูปแบบแตกต่างจากการแต่งกายแบบปกติอย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะมีการรวมกลุ่มกันเพื่อร้องเพลงหรือการเต้น Cover ตามศิลปินที่ชื่นชอบนั้นอีกด้วย และการแต่งกายแบบย้อนยุค อย่างเช่นสมัย Gothic เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทยนั้น จุดเริ่มต้นของกิจกรรมการแต่ง Cosplay ส่วนหนึ่งจะมาจากผู้ที่ชื่นชอบ J-Rock ในสมัยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปี 30 กลายๆ อีกส่วนหนึ่งคือผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่นและติดตามข้อมูลโดยตรงจากทาง ญี่ปุ่น ก็ได้มีการรวมกลุ่มเล็กๆเพื่อจัดงานขึ้นมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นสำนักพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นต่างๆ เองก็ได้เริ่มให้ความสนใจจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองความชื่นชอบในลักษณะของการประกวด Cosplay ขึ้นมาบ้าง ซึ่งจุดที่ทำให้ Cosplay เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในสังคมไทย เห็นจะเป็นกระแสของเกมออนไลน์ต่างๆ ที่เริ่มเข้ามาเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2545 โดย Cosplay ก็ เป็นกิจกรรมหลักๆ ที่ผู้นำเข้าเกมส์ทุกบริษัทจะจัดขึ้นมาเพื่อสร้างความคึกคักให้กับตัวงาน โดยเฉพาะเกมส์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอย่าง Ragnarok Online ซึ่งสื่อต่างๆ ก็ได้นำเอาเรื่องของ Cosplay ไปเผยแพร่ จึงมีผลทำให้บุคคลทั่วๆไปได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น จากที่แต่เดิมนั้นจะเป็นรู้จักเฉพาะในวงแคบๆ เท่านั้น นับเป็น
งานอดิเรกอย่างหนึ่ง

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

กลอนวันครู
" คุณนภาเหนือคณา "
ครูนั้นหนาดุจนภาหนาอากาศ
วิหกวาดเวียนปีกหลีกไถล
อาศัยพึ่งพิงอากาศมาดดั่งใจ
ครูนั้นไซร้ให้วิชาถลาลม
อันวิหกนกป่าพณาสนฑ์
มิอาจดลจิตไปดั่งใจสม
ถ้านภามิมีซึ่งดั่งลม
วิหกคงจมดิ่งวิ่งสู่ดิน
สรรพวิชาบรรจุไว้ในดวงจิต
เพราะตัวศิษย์มีชีวีมิบ่สิ้น
อันวิชาความรู้ที่ได้ยิน
รวมทั้งสิ้นจากความดีที่ตัวครู
..............................................................

" พระคุณครู "
อนาคตของครูอยู่บ้านป่า
คงเห็นค่าย้อนยุคกับทุกสิ่ง
เมื่อก้าวสู่สนามแห่งความจริง
เริ่มช่วงชิงหลักชัยในชีวิต
วาระแรกที่ก้าวเดินเผชิญโลก
เหงื่อคงโชกเพราะครูสู้อยู่กับศิษย์
ครูก็ทนสอนสั่งวันละนิด
เพื่อให้ศิษย์ตั้งใจในการเรียน
ครูก็ต้องยิ้มให้อย่างไม่น่าเบื่อ
คอยช่วยเหลือทุกด้านงานอ่านเขียน
ไม่มีคำตำหนิหรือติเตียน
ค่อยๆเขียนสอนสั่งอย่างอดทน
แล้วครูที่นี้ก็มีค่า
เพราะครูเปลี่ยนบ้านป่าฟ้าหลังฝน
ครูพลีชีพห่มขวัญประชาชน
เพื่อให้พ้นคำว่า โง่กว่าควาย
อนาคตของครูอยู่บ้านนอก
ชัยชนะผลิดอกบอกความหมาย
ปัญญาชนยิ้มว่าอย่าท้าทายเ
พราะสืบสายเลือดเท่ารอยเท้าครู